WordPress มีกี่แบบ แตกต่างกัน อย่างไร

         เมื่อยามเราหมดมุกจะเขียนเรื่อง มีอยู่หนึ่งเทคนิค ที่เราจะสามารถหาเรื่องมาเขียนได้อย่างไม่ยากเย็นนัก นั่นก็คือ ไปรื้ออีเมล์ จากที่มีผู้ส่งมาถามเรานั่นเอง ที่เกริ่นมาแบบนี้ ไม่ได้จะมาสอนเทคนิค การหาเรื่องมาเขียน แต่เป็นเพราะผมหมดมุก อิอิ
         มีอีเมล์จากคุณ kitlam lam ส่งมาถามเกี่ยวกับ blog หลายข้อเลย ผมเห็นว่าคำถามเหล่านั้น น่าจะเป็นประโยชน์จากวงกว้าง เลยเอามาตอบกันใน blog นี้เลยละกันครับ เนื่องจากคำถามเหล่านี้ ถามโดยคุณ kitlam lam ซึ่งยังไม่เคยทำ blog มาก่อน บางท่านก็อาจรู้คำตอบอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นการทวนความจำ แล้วกันนะครับ

Wordpress มันมีกี่แบบกันอะครับ ผมเห็นว่ามีแบบที่เราต้องลงโปรแกรมด้วยหรือครับ
แต่ตอนนี้ผมลองทำแบบที่สมัครออนไลน์ธรรมดาเลยอะครับ ก็โอเคนะครับ
เลยสงสัยว่าแล้วแบบที่ลงโปรแกรมในเครื่องเรานี่มันคืออะไรครับ แตกต่างกันยังไงครับ

WordPress มีบริการ (และ application) รวมทั้งหมดประมาณ 3 แบบดังนี้ครับ

1. WordPress.com เป็นบริการให้พื้นที่ blog ฟรี และหากอยากได้พื้นที่เพิ่ม ก็สามารถจ่ายเงินเพิ่มได้ สำหรับตัวนี้ ไม่ต้องลงโปรแกรมเองครับ แค่สมัครผ่านเว็บก็ใช้ได้เลยครับ รูปแบบ url ที่ได้ ก็จะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า ซับโดเมน (subdomain) ตัวอย่างเช่น kengdotcom.wordpress.com เป็น ข้อดีของการใช้บริการจาก wordpress.com คือ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเช่า host เพราะทาง WordPress.com ให้เราฟรี 3 GB. ก่อนแล้ว แต่ก็มีข้อจำกัดอื่น ๆ เช่นไม่สามารถปรับแต่ง CSS เพื่อปรับ layout ให้เป็นแบบที่เราต้องการได้อย่างสุด ๆ แบบนี้เหมาะสำหรับคนที่ ไม่สนใจที่จะปรับแต่งมากมาย แค่อยากเขียนเฉย ๆ เพราะใช้ได้ทันที ไม่ต้องใช้เทคนิค ในการทำเว็บ เยอะนักคับ แต่สำหรับคนที่เขียนจนเก่งแล้ว หรืออยากปรับแต่งขึ้นมา หรืออยากใช้โดเมนของเราเอง ทาง wordpress.com ก็มีบริการเสริม เพื่อให้เราใช้บริการ ซื้อพื้นที่เพิ่ม ซื้อการชี้โดเมนมาที่ blog ของเราใน WordPress.com เป็นต้นครับ

2. WordPress แบบเป็นโปรแกรม ให้เรามาติดตั้งเองในเว็บโฮสติ้งของเรา สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ที่ wordpress.org ครับ แบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ เรื่องการติดตั้งโปรแกรม และฐานข้อมูลบ้างนิดหน่อย เพราะว่าการติดตั้งโปรแกรม WordPress ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องทางเทคนิคมากนัก เรียกได้ว่าติดตั้งง่ายนั่นเอง แบบ WordPress นี้สามารถปรับแต่งดีไซน์ หรือเลือก theme ใหม่ ๆ มาใส่ได้เองตลอดเวลา ข้อจำกัดจะขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่ ที่เราเช่าไว้ กับทางบริษัทเว็บโฮสติ้งนั่นเอง เหมาะมากสำหรับคนที่ชอบปรับแต่งโน่น แต่งนี่ ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น keng.com ก็ใช้ WordPress แบบนี้ครับ

3. WordPress Mu เป็นโปรแกรม ให้เราเอามาติดตั้งเองในเว็บโฮสติ้ง ของเราเช่นเดียวกันครับ เพียงแต่ว่า WordPress Mu นี้ จะเป็นการให้บริการ WordPress ให้คนทั่วไปเข้ามาเขียน อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ตัวโปรแกรม WordPress Mu นั้น สามารถทำให้เรา เป็นผู้ให้บริการพื้นที่ blog เหมือน WordPress.com นั่นเอง แต่การติดตั้ง จะค่อนข้างยากสักหน่อย ใช้เทคนิคการปรับแ่ต่ง server เข้ามาช่วย หากต้องการใช้ function บางอย่าง ตัวอย่างเว็บที่ใช้ WordPress mu ก็คือ Travelify.com ที่แจกพื้นที่ blog สำหรับเรื่องท่องเที่ยวไงครับ

คุณ kitlam ยังถามมาอีกหลายข้อ ผมจะทยอยตอบไปเรื่อย ๆ จนครบนะครับ

แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าครับ
บทความนี้นำมาจากคุณ keng.com
http://keng.com/2008/05/14/type-of-wordpress-2/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Followers

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

My Blog List

ข่าวเด่นข่าวด่วน

Site Info